ยอดผลิตรถยนต์ พุ่งครั้งแรกรอบ 21 เดือน ดันปล่อยกู้ ‘รถเก่าแลกใหม่’
24 มิ.ย. 2568
–
13:55 น.
ยอดผลิตรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2568 พุ่งครั้งแรกในรอบ 21 เดือน แนะ รัฐดันไฟแนนซ์ปล่อยกู้ ‘รถเก่าแลกใหม่’ เสนอรถอายุเท่าไรเข้าร่วม แลกใหม่ลดภาษี
วันที่ 24 มิ.ย.2568 นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2568 ผลิตได้ 139,186 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2568 ถึง 33.51% และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ 10.32%
เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 21 เดือน เป็นผลมาจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV และ PHEV) ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตรถยนต์นั่งเพื่อขายในประเทศเพิ่มขึ้น 63.88% นับว่าเป็นข่าวดีในรอบปี ที่ยอดผลิตรถยนต์เริ่มไปในทางสัญญาณบวก
ยอดผลิตรถ 5 เดือนแรก 2568 ลด 7.8%
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม-พฤษภาคม) ยังคงชะลอตัว โดยมียอดการผลิตรถยนต์รวมทั้งสิ้น 594,492 คัน ลดลง 7.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนพฤษภาคม 2568 ส่งออกได้ 81,071 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 23.34% แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2567 9.20% ลดลงจากการหยุดผลิตรถยนต์นั่งบางรุ่นที่เลิกส่งออกไปสหรัฐอเมริกาและยุโรปจากการเข้มงวดเรื่องอุปกรณ์ช่วยเหลือในการขับ จึงไม่มีรถยนต์นั่งส่งออกไปในตลาดยุโรป
อ่านข่าว : คลัง ชงขยายคุณสู้เราช่วยเร็วๆนี้ ผุดโครงการ “รถเก่าแลกใหม่” ค้ำผ่าน บสย.
แต่ส่งออกรถกระบะเพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต รถกระบะส่งออกมากขึ้นในเดือนพฤษภาคมและส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดออสเตรเลีย ตะวันออกกลางด้วย รถยนต์ HEV ยังส่งออกเพิ่มขึ้น 17.48% การส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนยังคงมีความไม่แน่นอนทั้งภาษีนำเข้าของอเมริกา ความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัวลง
ขณะที่ ยอดขายภายในประเทศ เดือนพฤษภาคม 2568 มียอดขายอยู่ที่ 52,229 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 10.67% และเพิ่มขึ้น 4.73% จากเดือนเดียวกันในปี 2567 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV และ PHEV) ที่ขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาขายเริ่มเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
ยอดขายกระบะทรุด 24% เศรษฐกิจอ่อนแอ-การเมืองซ้ำเติม
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถกระบะยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤษภาคมลดลงถึง 24.84% จากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อ สะท้อนภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจในประเทศยังเปราะบางจากการลงทุนภาคเอกชนที่ซบเซา ค่าครองชีพที่สูง และการท่องเที่ยวที่เริ่มชะลอตัว โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนที่ยังมีความกังวลด้านความปลอดภัย
นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาการเมือง โดยเฉพาะงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ที่อาจไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในวันที่ 1 ตุลาคม 2568 ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งจะซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศที่ทรุดอยู่แล้วทรุดลงมากขึ้นไปอีก
เสนอรถอายุ 5-7 ปีเข้าร่วม แลกใหม่ลดภาษี–หนุนไฟแนนซ์ปล่อยกู้
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า สำหรับแนวคิดที่กระทรวงการคลัง จะผุดโครงการ รถเก่าแลกใหม่ ได้ส่วนลดภาษี หวังดันยอดขายรถกระบะ นั้น ส่วนนี้จะต้องดูรายละเอียดหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าตัวเงื่อนไขจะมีการแก้ไขปรับแก้ไขอย่างไรและจะมี เพิ่มเติมอย่างไรบ้าง
ซึ่งคาดว่า มาตรการนี้ น่าจะทำให้ยอดขายรถกระบะในประเทศดีขึ้น ปัจจุบันรถกระบะเก่าอายุ 20 ปี ในระบบมีประมาณ 2 ล้านคัน อยู่ที่ว่าจะลดภาษีรุ่นไหนแลกอะไร ขณะเดียวกันรัฐต้องคุยกับไฟแนนซ์เพื่อให้ทางไฟแนนซ์ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้นไม่อย่างนั้นโครงการจะเดินยาก
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อีกแนวทางหนึ่งที่เสนอ คือ การจัดตั้งกองทุนรองรับวงเงินประมาณ 5,000 ล้านบาท คล้ายกับโครงการที่เคยดำเนินการกับรถกระบะในอดีต ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนจากการรับซื้อรถเก่าคืน
โดยเสนอให้จำกัดวงเงินขาดทุนไม่เกิน 50,000 บาทต่อคัน ซึ่งน่าจะเพียงพอทำให้สถาบันการเงินพร้อมเข้าร่วมโครงการและปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นยอดขายรถทั้งระบบได้ 50,000-100,000 คัน
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ยังมีข้อเสนอให้พิจารณาเพิ่มเงื่อนไขให้รถยนต์ที่มีอายุ 5-7 ปี สามารถเข้าร่วมโครงการได้ด้วย เพื่อขยายฐานผู้เข้าร่วมและเพิ่มแรงจูงใจในกลุ่มที่รถยังไม่เก่ามาก แต่ต้องการเปลี่ยนคันใหม่ ทั้งยังช่วยลดปัญหาหนี้เสียที่เกิดจากการที่ไฟแนนซ์ไม่กล้าปล่อยกู้ในช่วงที่ผ่านมา
ปัญหาปิดชายแดน ไม่สะเทือน ส่งออกยานยนต์-จับตาตะวันออกกลางใกล้ชิด
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องการปิดชายแดนไม่กระทบมาก เนื่องจากไทยส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์และรถสำเร็จรูปทางเรือส่วนใหญ่ และ ล่าสุดยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบจากโรงงานที่ไปตั้งฐานการผลิตที่กัมพูชา
ทั้งนี้ ในส่วนของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ตรงนี้ตนได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องติดตามต่อไป เนื่องจากตะวันออกกลาง เพราะเป็นตลาดหลักของไทย สัดส่วนไปถึง 19% แต่มีไม่กี่บริษัทใช้ช่องแคบฮอร์มุช… อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :